ประเภทของธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้แบ่งธรณีพิบัติภัยเป็นประเภทต่างๆ กัน โดยพิจารณาจากธรณีพิบัติภัยหลักที่ส่งผลกระทบถึงประเทศไทย ดังนี้
- ดินถล่ม ดินถล่ม (landsilde) เป็นการเลื่อนไถลตามแรงโน้มถ่วงของโลกของมวลดินและหินในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง เช่น แนวเขา หน้าผา นอกจากนี้ยังเกิดในพื้นที่ภูเขาสูงรองรับด้วยหินแกรนิตและหินดินดานเป็นป่าโปร่งตามธรรมชาติและพบต้นไผ่ขึ้นอยู่ทั่วไป สำหรับดินถล่มในประเทศไทยมักเกิดขึ้นพร้อมกับน้ำป่าไหลหลาก เมื่อเกิดฝนตกหนักรุนแรงและต่อเนื่องหลายวัน มีปริมาณฝนมากกว่า 200 มิลลิเมตร การป้องกันดินถล่มอาจใช้การปลูกหญ้าแฝก การใช้ลวดตาข่ายกั้นตามแนวถนน เป็นต้น - แผ่นดินไหว
แผ่นดินไหว (Earthquake) เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดินอันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงาน เพื่อระบายความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่และสัมพันธ์กับแนวเลื่อนที่มีพลัง - คลื่นสึนามิ ลื่นสึนามิ (ญี่ปุ่น: 津波 tsunami สึนะมิ, "คลื่นที่ท่าเรือ" หรือ "คลื่นชายฝั่ง") เป็นกลุ่มคลื่นน้ำที่เกิดขึ้นจากการย้ายที่ของปริมาตรน้ำก้อนใหญ่ คือ มหาสมุทรหรือทะเลสาบขนาดใหญ่ แผ่นดินไหว การปะทุของภูเขาไฟและการระเบิดใต้น้ำอื่นๆ (รวมทั้งการจุดวัตถุระเบิดหรือวัตถุระเบิดนิวเคลียร์ใต้น้ำ) ดินถล่ม ธารน้ำแข็งไถล อุกกาบาตตกและการรบกวนอื่น ไม่ว่าเหนือหรือใต้น้ำ ล้วนอาจก่อให้เกิดเป็นคลื่นสึนามิได้ทั้งสิ้น[1]
คลื่นสึนามิไม่เหมือนกับคลื่นทะเล(tidal wave)ตามปกติ เพราะมีความยาวคลื่นยาวกว่ามาก แทนที่จะเป็นคลื่นหัวแตก (breaking wave) ตามปกติ คลื่นสึนามิเริ่มแรกอาจดูเหมือนกับว่าคลื่นน้ำเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และด้วยเหตุนี้ คลื่นสึนามิจึงมักเรียกว่าเป็นคลื่นยักษ์ โดยทั่วไป คลื่นสึนามิประกอบด้วยกลุ่มคลื่นซึ่งมีคาบเป็นนาทีหรืออาจมากถึงชั่วโมง มากันเรียกว่าเป็น "คลื่นขบวน" (wave train)[2] ความสูงของคลื่นหลายสิบเมตรนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากเหตุการณ์ขนาดใหญ่ แม้ผลกระทบของคลื่นสึนามินั้นจะจำกัดอยู่แค่พื้นที่ชายฝั่ง แต่อำนาจทำลายล้างของมันสามารถมีได้ใหญ่หลวงและสามารถมีผลกระทบต่อทั้งแอ่งมหาสมุทร คลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 เป็นหนึ่งในภัยธรรมชาติครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยมีผู้เสียชีวิตกว่า 230,000 คน ใน 14 ประเทศที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย
ธูซิดดิดีส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก เสนอเมื่อ 426 ปีก่อนคริสตกาล ว่า คลื่นสึนามิเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวใต้ทะเล แต่ความเข้าใจในธรรมชาติของคลื่นสึนามิยังมีเพียงเล็กน้อยกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 และยังมีอีกมากที่ยังไม่ทราบในปัจจุบัน ขณะที่แผ่นดินไหวที่รุนแรงน้อยกว่ามากกลับก่อให้เกิดคลื่น พยายามพยากรณ์เส้นทางของคลื่นสึนามิข้ามมหาสมุทรอย่างแม่นยำ และยังพยากรณ์ว่าคลื่นสึนามิจะมีปฏิสัมพันธ์กับชายฝั่งแห่งหนึ่ง ๆ อย่างไร - หิมะถล่ม (อังกฤษ: Avalanche) เป็นการถล่มของหิมะปริมาณมหาศาลลงตามความชันของภูเขา หิมะถล่มเป็นภัยธรรมชาติที่ในเขตภูเขาในฤดูหนาว หิมะถล่มขนาดใหญ่สามารถถล่มเป็นระยะทางได้ยาวหลายๆกิโลเมตรและสร้างความเสียหายกับป่า บ้านเรือน ชีวิต หรือ อะไรก็ตามที่อยู่ในแนวการถล่ม ตัวอย่างของหิมะถล่มที่สร้างความเสียหายมากคือที่ เมือง Montroc ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2542 หิมะราวๆ 300,000 ลูกบาศก์เมตร ถล่มลงมาตามความชันราวๆ 30 องศาของภูเขาจนมีความเร็วถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ภัยหิมะถล่มครั้งนั้นส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 12 คนซึ่งอยู่ในบ้านพักขณะเกิดเหตุ หิมะถล่มได้ฝังบ้านพักด้วยความลึก 5 เมตรด้วยปริมาณหิมะราวๆ 100,000 ตัน
อ้างอิงจาก https://guru.sanook.com/6688/ เเละ https://bit.ly/2Q3G52h กับ https://bit.ly/2ssJu0l
No comments:
Post a Comment